วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เทคโนโลยีสารเทศและการสื่อสาร

 กำเนิดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีการตั้งถิ่นฐาน  อยู่กันเป็นหมู่เหล่าตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว  หน่วยเล็กที่สุดของสังคม  คือ  ครอบครัว  ขนาดใหญ่ขึ้นมาเป็น  หมู่บ้าน  ตำบล  อำเภอ  จนในที่สุดเป็นเมือง  และเป็นประเทศ  ตามลำดับ  มนุษย์แต่ละหมู่เหล่ามีการติดต่อสื่อสารพบปะกันเพื่อแลกเปลี่ยนอาหาร สิ่งของเครื่องใช้  ยารักษาโรค  ที่ชุมชนของตนไม่สามารถผลิตได้หรือผลิตได้ไม่เพียงพอ  ฯลฯ  จนเกิดเป็นการค้าขายระหว่างหมู่บ้าน  ตำบล  เมือง  และประเทศขึ้น  การติดต่อในยุคแรกๆ  เป็นการบอกกันปากต่อปาก ต่อมามีการสื่อสารกันด้วยตัวอักษร  ที่จารึกบนวัสดุต่างๆ  ซึ่งกลายมาเป็นการส่งจดหมายถึงกัน  จากนั้นมีการสื่อสารกันด้วยวิธีการที่หลากหลายและมีความรวดเร็วมากขึ้น  ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีโทรคมนาคม  ซึ่งอาศัยหลักวิชาด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เปลี่ยนคำพูด  ข้อความหรือภาพ    เป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสาย  หรือเปลี่ยนเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  เรียกว่า  คลื่นวิทยุกระจายไปในอากาศ  เมื่อถึงปลายทางสัญญาณ  หรือคลื่น ที่ ส่งไปนั้น จะถูกคืนสภาพให้กลับ  เป็นคำพูด ข้อความ  หรือภาพเหมือนกับสิ่งที่ส่งออกไปจากต้นทาง พัฒนาการของเทคโนโลยีโทรคมนาคมนี้ ทำให้คนที่อยู่คนละซีกโลกกันสามารถรับรู้ข่าวสารของกันและกันได้ภายในชั่วพริบตา เพราะอัตราความเร็วของการเดินทางของสัญญาณไฟฟ้าตามสาย  หรือของคลื่นวิทยุนั้น   อยู่ในระดับเดียวกับความเร็วของแสง  เช่น เหตุร้ายจากการก่อวินาศกรรม  โดยใช้เครื่องบินโดยสารที่ถูกจี้บังคับ  มาชนตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์   ที่นครนิวยอร์ก เมื่อ   วันที่  11 กันยายน   พ.ศ.   2544   นั้นคนทั้งโลกได้เห็นเหตุการณ์สดๆ ผ่านเครือข่ายข่าวโทรทัศน์ของซีเอ็นเอ็น
        เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่พึ่งมีขึ้นในช่วงเวลาประมาณ 20 ปีที่ผ่านมานี่เอง เป็นเทคโนโลยีที่เกิดจากการรวมเทคโนโลยี ประเภทเข้าด้วยกัน คือ
   1.เทคโนโลยีโทรคมนาคม
   2.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
        สารสนเทศ หมายถึง ตัวเนื้อหาสาระของข้อมูลข่าวสาร  โดยใช้คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่รวบรวม จัดเก็บปรับเปลี่ยนรูปแบบของสารสนเทศและใช้เทคโนโลยีโทรคมนาคมซึ่งพัฒนามาจากเครือข่ายโทรทัศน์และเครือข่ายวิทยุมาสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นเป็นการนำเอาความสามารถของคอมพิวเตอร์(คำนวณ ประมวลผล เปรียบเทียบ และตรวจสอบ ได้รวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ) มารวมกับความสามารถของระบบโทรคมนาคม (ติดต่อได้รวดเร็วและกว้างไกล)
       ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงหมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาจัดการเกี่ยวกับสารสนเทศนั่นเอง


ประวัติโดยย่อของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

เทคโนโลยีโทรคมนาคม
      เทคโนโลยีโทรคมนาคม  เริ่มจากการประดิษฐ์โทรเลขของ  แซมวล  มอร์ส  (Samual Morse) ในปี .ศ. 2380 นับว่าเป็นครั้งแรก ที่ข่าวสารถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า ส่งไปตามสายเป็นระยะทางไกลๆ ได้โดยอาศัยวิธีการเข้ารหัสตัวอักษร เป็นรหัสอื่นที่ประกอบด้วยจุด (.) และขีด (-) เช่น สัญญาณข้อความช่วยเหลือฉุกเฉิน SOS จะเข้ารหัสเป็น... - - - ... การรับส่งโทรเลขได้ถูกนำมาใช้งานในเชิงการค้าตั้งแต่ พ.ศ. 2387 เป็นต้นมา และในปี พ.ศ. 2401 ได้มีการวางสายเคเบิล ใต้มหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้เกิดการสื่อสารข้ามทวีประหว่างทวีปอเมริกากับทวีปยุโรปขึ้นเป็นครั้งแรก

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

          คำว่า  เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบคำ คำ ได้แก่ เทคโนโลยี และ สารสนเทศซึ่งแต่ละคำมีความหมายดังนี้
          เทคโนโลยี  (Technology)  เป็นคำที่มาจากรากศัพท์ภาษาละตินว่า  TEXERE  มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษ ว่า  toweave  แปลว่า  สาน  เรียบเรียง  ถักทอ ปะติดปะต่อ และ  construct  แปลว่า  สร้าง  ผูกเรื่อง  ความรู้สึกนึกคิดที่ก่อให้เกิด ส่วนเทคโนโลยี ในรากศัพท์ภาษากรีกมาจากคำว่า technologiaแปลว่า การทำงานอย่างเป็นระบบ (systematic treatment) (วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2539)
          คาร์เตอร์ วี กู๊ด  (Good, 1973) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี ว่า หมายถึง การนำเอา วิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในวงการต่างๆ โดยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
          เอดการ์ เดล (Dale, 1965) กล่าวว่า เทคโนโลยีไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบที่ให้ผลบรรลุตามแผนการ
สารสนเทศ (Information)
          ปัจจุบันคำว่าสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทกับวงการต่างๆ  ในสังคมกว้างขวาง  และมักนิยมใช้ควบคู่ไปกับเทคโนโลยีและเรียกเป็นคำเดียวกันว่าเทคโนโลยีสารสนเทศต่อมาเพิ่มเติมเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร   ซึ่งแต่ละคำมีพัฒนาการที่มีความหมาย ดังนี้
           คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ  (2543)  ได้ให้นิยามของสารสนเทศ ว่า หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ ไม่ว่าจะปรากฏในรูปแบบของตัวอักษร ตัวเลข เสียงและภาพ หรือในรูปแบบอื่นใดที่สื่อความหมายได้ และยังให้ความเห็นว่า สารสนเทศ เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการก่อให้เกิดสังคมแห่งปัญญาและช่วยเกื้อหนุนการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
          สารสนเทศ  หมายถึง  ข้อมูลที่ได้รับตีความ  จำแนกแจกแจง  จัดหมวดหมู่  หรือประมวลผลจนมีสาระอยู่ในตัวมันเอง สามารถสื่อความหมายให้เกิดการเข้าใจกับผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลนั้น และสามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ โดยข้อมูลที่นำมาประมวลผลนั้นอาจจะมาจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งภายในหรือภายนอกองค์การ
เทคโนโลยีสารสนเทศ  (Information Technology)
          เมื่อเนื้อหาข้อมูลมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาล เราจึงนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการจำแนก จัดหมวดหมู่  จัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ  ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นจึงเรียกวิธีการดำเนินงานเช่นนี้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ  (Information Technology : IT)
          คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (2543) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศว่า หมายถึง ความรู้ในผลิตภัณฑ์หรือในกระบวนการดำเนินงานใด ๆ ที่อาศัยเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ การติดต่อสื่อสาร การรวบรวมและการนำข้อมูลมาใช้ทันการเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพทั้งทางด้านการผลิต การบริการ การบริหาร และการดำเนินการ รวมทั้งเพื่อการศึกษาและการเรียนรู้  ซึ่งจะส่งผลต่อความได้เปรียบทางด้านเศรษฐกิจ  การค้า และการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุณภาพของประชาชนในสังคม  ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงเป็นการนำวิทยาการที่ก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์ผสมผสานกับการสื่อสาร ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ในการใช้งานได้อย่างกว้างขวางมากขึ้นเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology)
        
 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
  1.    ปัจจุบันกระแสโลกาภิวัตน์แผ่อิทธิพลไปสู่สังคมโลกทำให้ข้อมูลข่าวสารสามารถเชื่อมโยงกันแบบเครือข่ายหรือใยแมงมุมได้ทั่วทุกมุมโลกโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร เช่น  โทรศัพท์ ดาวเทียม เส้นใยแก้วนำแสง ไมโครเวฟ ผสมผสานกันเพื่อให้สามารถสื่อสารกันได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้นเราจึงเรียกกระบวนการนี้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  (Information Communication Technology: ICT)
เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน - Presentation Transcript
  1. เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน
    • การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ โทรศัพท์มือถือ เพื่อการติดต่อสื่อสาร บัตรประจำตัวประชาชนแบบใหม่ที่มีแถบแม่เหล็ก ใช้บริการฝาก - ถอนเงินจากเครื่องฝาก - ถอนเงินอัตโนมัติ
    • หรือเอทีเอ็ม ( ATM)การชำระค่าน้ำค่าไฟต่างๆ ผ่านธนาคารการเล่นอินเทอร์เน็ต
  2. บทบาทสำคัญและเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวัน
    • ทุกวันนี้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทและเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันของเราทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญในการช่วยการทำงานด้านต่างๆ ได้แก่
    • เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษา :
    • เทคโนโลยีสารสนเทศกับการให้บริการของภาครัฐ :
    • เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานธุรกิจ :
    • เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานธนาคาร :
    • เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านอุตสาหกรรม :
    • เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านวิทยาศาสตร์
  3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษา :
    • เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาใช้ช่วยในการเรียนการสอนตามสถานศึกษาต่างๆ รวมทั้งใช้ในงานบริหารของสถานศึกษา เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ผลิตสื่อช่วยการเรียนการสอน การจัดทำประวัตินักเรียน นักศึกษา ประวัติครูอาจารย์ การคิดคะแนนสอบ คิดเกรดเฉลี่ย การจัดทำตารางสอน การลงทะเบียนเรียน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในงานบริหารจัดการห้องสมุด เป็นต้น
  4. เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาใช้ช่วยในการเรียนการสอนตามสถานศึกษาต่างๆ รวมทั้งใช้ในงานบริหารของสถานศึกษา เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ผลิตสื่อช่วยการเรียนการสอน การจัดทำประวัตินักเรียน นักศึกษา ประวัติครูอาจารย์ การคิดคะแนนสอบ คิดเกรดเฉลี่ย การจัดทำตารางสอน การลงทะเบียนเรียน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในงานบริหารจัดการห้องสมุด เป็นต้น
  5. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการให้บริการของภาครัฐ :
    • เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาใช้ช่วยในการเก็บข้อมูลงานทะเบียนราษฎร์ ข้อมูลประวัติบุคคล ข้อมูลประวัติอาชญากร ช่วยในการนับคะแนนการเลือกตั้งและการประกาศผลเลือกตั้ง การจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนอิเล็กทรอนิกส์ การบริการออกสำเนาทะเบียนบ้านด้วยคอมพิวเตอร์ การคิดคำนวณภาษีอากร การเก็บข้อมูลสถิติสำมะโนประชากร การเก็บเงินค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์ การให้บริการสืบค้นข้อมูลต่างๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
  6. เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานธุรกิจ :
    • ใช้ช่วยงานพิมพ์ งานคำนวณ งานจัดเก็บข้อมูล งานบริหารจัดการข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจ
    • การดำเนินธุรกิจต่างๆ เช่น การวางแผนทางการตลาด การวางแผนการขาย
    • งานบริการลูกค้าสำหรับธุรกิจร้านค้าสมัยใหม่ เช่น การให้บริการชำระค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์
    • การทำธุรกิจในรูปแบบใหม่ๆ คือ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมิร์ช ทำให้เกิดการทำธุรกรรมและการติดต่อธุรกิจได้ทั่วโลกในทุกเวลาและทุกสถานที่ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์สาธารณะขนาดใหญ่ของโลก

กระแสโลกาภิวัฒน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

กระแสโลกาภิวัฒน์  ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในปัจจุบันช่วยให้ความเป็นอยู่ ในชีวิตประจำวันของเราสะดวกสบายมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับยุคก่อน การเดินทางและติดต่อสื่อสารระหว่างกันสามารถทำได้ง่ายขึ้น มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งาน  ในทุกสาขาอาชีพ เช่น  การสื่อสาร  การธนาคาร  การบิน วิศวกรรม  สถาปัตยกรรม  การแพทย์  การศึกษา  หรือการเรียนการสอน  ซึ่งส่งผลให้วิทยาการต่างๆ  เจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว  การติดตามข่าวสารที่เกิดขึ้นในส่วนต่างๆ  ของโลกได้ทันเหตุการณ์   สามารถรับรู้ข่าวสารข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ทั้งที่อยู่ห่างไกลกันคนละสถานที่  เช่น การถ่ายทอดสด  การเสนอข่าวเหตุการณ์สำคัญ  รายการแข่งขันกีฬา การถ่ายทอดสัญญาณผ่านระบบดาวเทียมจากประเทศต่างๆ  การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พิมพ์รายงาน สร้างภาพกราฟิก  เก็บข้อมูล   สืบค้นข้อมูล   ฟังเพลง   รวมถึงการประยุกต์ใช้  ในการเรียนการสอน  จึงนับได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญ ต่อการดำรงชีวิต การศึกษา และการเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในทุกๆ ด้าน ช่วยส่งเสริมทักษะ  และสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลิน  ไปพร้อมๆ กัน
           การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  จะอาศัยองค์ประกอบต่างๆ มากมาย เช่น การใช้โทรศัพท์ ต้องอาศัยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นคลื่นสัญญาณไฟฟ้า และจะถูกเปลี่ยนให้เป็นสัญญาณเสียงที่เครื่องโทรศัพท์ปลายทาง ส่วนการใช้โทรศัพท์มือถือ ในการสื่อสารคลื่นเสียงจะถูกเปลี่ยนเป็นคลื่นสัญญาณไฟฟ้าวิ่งผ่านอากาศ ไปยังสถานีแม่ข่าย หรือดาวเทียมเพื่อส่งต่อคลื่นสัญณาณไฟฟ้าไปยังเครื่องรับโทรศัพท์ปลายทาง ดังนั้น เครื่องโทรศัพท์มือถือทั่วไป จะต้องมีเครื่องรับและส่งสัญญาณคลื่นเสียงที่เราพูดคุยกันและในปัจจุบันเราสามารถสื่อสารระหว่างกันโดยการใช้โทรศัพท์มือถือ  รุ่นที่สามหรือ  3G  ส่งสัญญาณเสียง  และภาพพร้อม  กันโดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารและคอมพิวเตอร์  ทำให้เราสามารถเห็นภาพของคู่สนทนาไปพร้อมๆ กัน

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีต่อสังคม

ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  มีบทบาทที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมในหลายด้าน ซึ่งสามารถสรุปได้  ดังนี้
       -  ช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการสื่อสารที่รวดเร็วและกว้างไกล
       -  ช่วยทำให้วิทยาการต่างๆ เจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว
       -  การรับรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของโลกเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว
       -  สามารถเข้าถึงคลังข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ในการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิต
       -  สนับสนุนการทำงานและกระบวนการผลิต เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ในการวางแผนการออกแบบและการควบคุมระบบการทำงาน
       -  ส่งเสริมระบบบริหารจัดการในรูปแบบใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการหน่วยงานหรือองค์กร
       -  กระจายโอกาสด้านการศึกษา ให้ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล สามารถเรียนรู้ผ่านระบบการสอนทางไกลหรือผ่านดาวเทียมได้
       -  สามารถเผยแพร่สารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สังคมโลกได้โดยง่าย เช่น การเผยแพร่งานในอินเตอร์เน็ตตำบล เป็นต้น
       -  ช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีต่อสังคม
เทคโนโลยีสารสนเทศมีพัฒนาการที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มีการปรับปรุงเครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นประโยชน์กับงานสารสนเทศอยู่ตลอดเวลา ทำให้วงการวิชาชีพหันมาปรับปรุงกลไกในวิชาชีพของตนให้ทันกับสังคมสารสนเทศ เพื่อให้ทันต่อกระแสโลก จึงทำให้เกิดการบริการรูปแบบใหม่ๆ ขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ต การให้บริการส่งข่าวสาร SMS หรือการโหลดเพลงผ่านเครือข่ายโทรศัพธ์มือถือ นอกจากนี้หน่วยงานต่างๆ ยังได้สร้างระบบงานสารสนเทศในหน่วยงานของตนเองขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น การทำเว็บไซด์ของหน่วยงานเพื่อใช้ประโยชน์จากสารสนเทศเหล่านั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวางและคุ้มค่า โดยสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในการจัดทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อใช้ในการสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ การปฏิบัติงาน การแก้ปัญหา หรือการตัดสินใจ เพื่อการวางแผนและการจัดการ
ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีบทบาทและความสำคัญมากในปัจจับัน และมีแนวโน้วที่จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในอนาคต เพราะเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานสารสนเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นับตั้งแตการผลิต การจัดเก็บ การประมวลผล การเรียกใช้ การสื่อสารสารสนเทศ การแลกเปลี่ยนและใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ (สุนทร แก้วลาย. 2531:166) พอสรุปได้ดังนี้
1.ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาสารในแต่ละวัน
2.ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ
3.การจัดเรียงลำดับสารสนเทศ ฯลฯ
4.ช่วยในการจัดเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่เรียกใช้ได้ทุกครั้งอย่างสะดวก
5.ช่วยในการจัระบบอัติโนมัติ เพื่อการจัดเก็บ การประมวลผล และการเรียกใชสารสนเทศ
6.ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
7.ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทาง โดยใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ